วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555



ความหมายของการสื่อสาร

• การสื่อสารหมายถึงการถ่ายทอดข่าวสารที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (Miller)
• การสื่อสาร คือการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร (Wilbur Schramm)

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

• วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)
เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ

• วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร
เพื่อทราบ
เพื่อศึกษา
เพื่อหาความพอใจ
เพื่อการกระทำหรือตัดสินใจ

ลักษณะของการสื่อสาร

• วิธีของการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธีคือ
1. การสื่อสารด้วยวาจา(oral communication)เช่นการพูด การร้องเพลง
2. การสื่อสารที่มิใช่วาจา (NonverbalCommunication)และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน(written communication)เช่นภาษามือ ท่าทาง และ ภาษาเขียน
3.การสื่อสารด้วยการจักษุสัมผัสหรือการเห็น(visual Communication)



ลักษณะของการสื่อสาร

• รูปแบบของการสื่อสาร
การสื่อสารทางเดียว(one - way communication)
การสื่อสารสองทาง(two- way communication)

ลักษณะของการสื่อสาร
• ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้ 4 ประเภทคือ
การสื่อสารในตนเอง(intrapersonal or selfcommunication)
หมายถึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่นการเขียนและอ่านหนังสือ
การสื่อสารระหว่างบุคคล(InterpersonalCommunication)
การสื่อสารแบบกลุ่มชน(group communication)
การสื่อสารมวลชน(mass communication)


จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน

ที่ชัดเจนก็คือ จุดมุ่งหมายที่บอกพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของการเรียนการสอนในรูปของความสำเร็จที่สังเกตเห็นได้ ซึ่งเรียกว่า จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral objective)


แนวคิด : เทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษายุคสังคมแห่งการเรียนรู้

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า การแบ่งแยกทางดิจิตอล (Digital Divide) ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน(Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่าการแบ่งแยกความรู้ (Knowledge Divide)



การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ผู้ส่ง (Sender)
2. ผู้รับ (Receiver)
3. สาร (Message)
4. สื่อกลาง (Medium)



การสื่อสารทางการเรียนการสอน (Instructional Communication)
                
ในสมัยปัจจุบันการที่จะเป็นครูผู้สอนที่ดี มีความสามารถและมีประสิทธิภาพในการสอนสูงดูจะเป็นสิ่งที่ยากกว่าแต่ก่อน ๆ นี้มากครูสมัยใหม่นี้จะต้องมีความรอบรู้และสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เช่นเกี่ยวกับผู้เรียน พฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียนหรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเนื้อหาสาระของวิทยาการต่าง ๆที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวมทั้งสภาวะแวดล้อมอันยุ่งยากสับสน ความเปลี่ยนแปลงตลอดจนธรรมชาติ


ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1.  กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS)                                                 
2.  การทดสอบก่อนการเรียน (Pretest)
3.  ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities)
4.  การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test)
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น